Sunday, October 11, 2015

ปลดหนี้ได้ ด้วยเกษตรผสมผสาน

ปลดหนี้ได้ ด้วยเกษตรผสมผสาน


                         
นายประพันธ์ ศรีสุวรรณ เกษตรกรทฤษฎีใหม่ จากบ้านนาสาร ต.บ้านปิน อ.ลอง จ.แพร่ เป็นอีกหนึ่งของเกษตรกรที่หันมายึดแนวทางการทำการเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ร่วม 18 ปี จนวันนี้มีกินมีใช้ไม่ขัดสนแม้ภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศจะผันแปรไปในทิศทางใดก็ตาม
“แต่ก่อนทำพืชเชิงเดี่ยว แต่ไม่ประสบผลสำเร็จลงทุนไปก็ขาดทุน หมดไปเป็นหมื่น ๆ ปลูกมะขามหวาน มะม่วง ขาดทุนรายได้จากการขายผลผลิตน้อยกว่าค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ยและยาฆ่าแมลง ก็หันมาเลี้ยงปลา ก็ขาดทุนอีก เพราะต้องจ่ายทุกอย่างตั้งแต่พันธ์ุปลาที่นำมาเลี้ยง อาหารปลา แต่เวลาเอาปลาไปขายกลับขายไม่ได้ และที่ขายได้บ้างก็ไม่มีราคา ก็หมดทุนอีกเพราะมีความคิดแบบเอาเงินเป็นตัวตั้งก่อนทำการผลิต” เกษตรกรทฤษฎีใหม่ บ้านนาสารกล่าว
นายประพันธ์บอกต่อว่าที่หันมาเลี้ยงปลาในตอนนั้นด้วยมีเจ้าหน้าที่จากส่วนงานราชการที่ส่งเสริมการเลี้ยงปลามาบอกว่าถ้าปล่อยปลาลงบ่อ 10,000 ตัวขายได้ตัวละ 10 บาท เป็นเงินเท่าไหร่พิจารณาดู คิดแล้วก็จะเป็นหลักแสนก็ตาสว่างขึ้นมาทันทีเพราะเห็นแต่เงินที่คิดว่าจะได้ แต่ไม่มีประสบการณ์ในการเลี้ยงปลา เป็นการคิดแบบเอาตัวเลขว่าจะกำไรมาก่อน แต่ผลที่ออกมากลับตรงกันข้ามไม่เหมือนอย่างที่คิดไว้ เพราะในระหว่าง การเลี้ยงจะต้องมีรายจ่ายจากค่าใช้จ่ายมากมายในการเลี้ยงปลา ในที่สุดก็หมดทั้งปลาและทุน
“ก็หันกลับมาปรับพื้นที่ ปลูกผัก ปลูกข้าว เลี้ยงปลาแบบอินทรีย์ คือไม่พึ่งสารเคมีใด เพราะปลูกเพื่อกินเองในครอบครัว ปลูกไม้ยืนต้นที่สามารถเอื้อกับพื้นที่เพื่อการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์รวมเวลา 18 ปี ที่การเกษตรแบบนี้วันนี้ไม่เป็นหนี้ใคร มีกิน มีเหลือ ที่สำคัญไม่ต้องเข้าโรงพยาบาลเลยตั้งแต่หันหลังให้กับการปลูกพืชและเลี้ยงปลาแบบเชิงเดี่ยว” นายประพันธ์ กล่าว
เกษตรกรทฤษฎีใหม่รายนี้เล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยว่า ช่วงที่หันกลับมาปลูกผักนั้นก็ทำกันเองภายในครอบครัวมีแรงงาน 2 คนคือตนเองกับแม่บ้าน หวังปลูกเพียงเพื่อให้มีกินภายในครอบครัวไม่ต้องไปหาซื้อจากตลาดเท่านั้น เพราะเงินทองของครอบครัวไม่มีแล้วแถมยังเป็นหนี้ติดตัวอยู่นับแสนอีกต่างหาก ปลูกระยะหนึ่งก็มีผักเหลือก็เอาออกไปขาย
“ในตอนแรกก็ขายไม่ค่อยได้ เพราะไม่มีคนรู้จัก ช่วงนั้นคำว่าผักอินทรีย์ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันเท่าที่ควร ส่วนใหญ่จะหันไปซื้อผักที่มีใบสวยก้านงาม ๆ ซึ่งต้องปลูกโดยใช้สารเคมีเท่านั้นจึงจะได้ผักสวยเช่นนั้น มาวันหนึ่งขายได้ 20 บาท ดีใจมากเพราะเป็นรายได้ที่เหลือจากกินภายในครอบครัว ต่อมาก็นำออกขายอีกก็เริ่มขายได้เพิ่มมากขึ้น สังคมเริ่มเข้าใจและมีผู้สนใจซื้ออย่างต่อเนื่อง ก็นำเงินที่ขายได้มาลงทุนเพาะปลูกพืชผักเพิ่มเติม ก็มี ผักกาด คะน้า กวางตุ้ง มะเขือเทศ ถั่วฝักยาว พืชสวนครัวส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุก” เกษตรกรผู้พลิกผันตัวเองจากหนี้ท่วมตัวมามีเงินใช้จ่ายอย่างพอเพียงในวันนี้กล่าว
จากการทำการเกษตรแบบผสมผสานโดยยึดแนวทางการใช้ชีวิตแบบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือมีภูมิคุ้ม กันในการดำรงชีพ ไม่ลงทุนเกินความสามารถของตนเอง ไม่กู้เงินมาลงทุน จะลงทุนก็ต่อเมื่อมีผลกำไรและเพียงพอ แก่ค่าใช้จ่ายภายในครอบครัว แม้จะขาดทุนในการเพาะปลูกที่ลงทุนไปก็ไม่เสียหายทั้งหมด ชีวิตก็จะยังยืนอยู่ได้ เพราะทุนเดิมยังอยู่
เกษตรกรรายนี้ได้น้อมนำพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทยนำไปปฏิบัติใช้เมื่อครั้งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตกเมื่อหลายปีก่อน มาปฏิบัติใช้ จวบจนปัจจุบันครอบครัวมีความสุข มีกินมีใช้ เพียงพอจนสามารถส่งลูกได้เล่าเรียนจนจบมหาวิทยาลัย มีความมั่นคงในชีวิต ได้รับ การยอมรับจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและราษฎรในพื้นที่เดินทางไปศึกษาดูงานอย่าง ต่อเนื่อง
และล่าสุดก็ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น ด้านเกษตรผสมผสานของสำนักงาน กปร. ซึ่งได้รับรางวัลจาก นายอำพล เสนาณรงค์ องคมน ตรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน 2557 ที่ผ่านมา ในงานการประชุมสัมมนา “เศรษฐกิจพอเพียง ทางออกประเทศไทย” ณ ห้องประชุม 101 สำนักงาน กปร.
ข่าวเดลินิวส์
 
 
 
 
 
ที่มา : http://pantip.com/topic/32306338

เกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้ภูมิปัญญาเดิม

เกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้ภูมิปัญญาเดิม
บนพื้นฐานของเกษตรแบบพอเพียง
 
          “เฮียนฮู้จากของแต๊ เผยแพร่ฮื้อลูกหลาน คือ งานเกษตรบ้านเฮา” (เรียนรู้จากของจริงเผยแพร่สู่ลูกหลาน คือ งานเกษตรบ้านเรา) ประโยคนี้ติดปากและอยู่ในความทรงจำส่วนลึกของใครหลายคนที่ได้เข้ามาสัมผัสและรับรู้เรื่องราวในการดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ฯ ประจำตำบลร้องวัวแดง (ศูนย์เรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่วงเขียว ตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่) การศึกษาเรียนรู้วิถีทางเกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้ภูมิปัญญาเดิม และอยู่บนพื้นฐานของเกษตรแบบพอเพียงให้เข้าใจได้อย่างถ่องแท้นั้น ต้องเริ่มต้นจากการเข้าใจอย่างแท้จริง และทำจริง จึงจะสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้กับการเกษตรของตนเองได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
 
 
 
          พื้นที่ประมาณ10 ไร่ ได้กลายเป็นผืนดินในการทำเกษตรแบบผสมผสาน ที่นำทฤษฎีใหม่ภายใต้ภูมิปัญญาเดิมและอยู่บนพื้นฐานของเกษตรแบบพอเพียงเข้ามาปรับใช้อย่างเหมาะสม เพื่อเกิดประโยชน์สูงสุด ถูกจัดแบ่งเป็นพื้นที่การทำเกษตรในรูปแบบต่างๆ ตามอัตราส่วนร้อยละ ดังนี้
          พื้นที่สำหรับการทำนา 70 % (แบ่งเป็นการทำนาด้วยวิธีการโยนกล้า 40 % และการดำนา 30 %) และพื้นที่สำหรับการทำเกษตรแบบผสมผสาน อีก 30 % ถูกแบ่งย่อยออกเป็นพื้นที่ ปลูกพืชผักสวนครัว (5 %) อาทิเช่น ตะไคร้ ขิง ข่า ขมิ้น ชะอม มะนาว พริก มะเขือ ผักบุ้ง โหระพา กระเพราฯลฯ ปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผล ทั้งหลาย (4 %) เช่น มะม่วง ลำไย กล้วย มะละกอ ฯลฯ ขุดหนองเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ และเก็บน้ำไว้ใช้ในการทำเกษตร อีก 5 % เลี้ยงหมูหลุม (1 %) เลี้ยงวัวเนื้อ (1 %) เลี้ยงไก่เนื้อ (1 %) ทำน้ำส้มควันไม้ (1 %) ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ( 2 %) ทำบ่อก๊าซชีวภาพ (2 %) เพาะเห็ดนางฟ้า (2 %) ทดลองความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ (2 %) เช่น เลี้ยงไส้เดือนดิน ฯลฯ เป็นพื้นที่แห่งความสุขไว้พักผ่อนหย่อนใจและมีกระท่อมเล็กๆ เพื่อใช้ประชุมกับทีมงานอีก (4 %) ซึ่งถือว่าพื้นที่ทั้งหมดนี้ได้ถูกจัดสรรปันส่วนอย่างชัดเจนและเป็นไปตามความเหมาะสมที่ทางสมาชิกทุกคนได้ร่วมกันกำหนดไว้
 
 
 
          ลุงบุญทรง ยุติธรรม (ประธานศูนย์ ฯ) คนโตตัวเล็ก ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความมุ่งมั่นและพยายามที่จะพัฒนาการเกษตรของหมู่บ้านม่วงเขียว เล่าว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่” ของที่นี่กำลังค่อย ๆ พัฒนาเพิ่มพูน ทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ ที่ได้รับจากการอบรมและทดลองทำจากหน่วยงานต่าง ๆ การศึกษาเรียนรู้ร่วมกับนักวิชาการด้านเกษตร และการค้นคว้าทดลองทำด้วยตนเองของเกษตรกร เช่น การทำนาด้วยวิธีโยนกล้า การเลี้ยงหมูหลุม การทำปุ๋ยหมักด้วยการนำ พด.1 มาปรับใช้ ฯลฯ และยังคงอยู่ “ภายใต้ภูมิปัญญาเดิม” ของวิธีการทำเกษตรซึ่งได้ถ่ายทอดมาแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยายเกษตรทฤษฎีใหม่ส่วนไหนดีและไม่ส่งผลกระทบต่อคนและธรรมชาติ พวกเราพร้อมจะปรับเปลี่ยน เกษตรทฤษฎีใหม่ส่วนไหนที่มีวิธีขัดแย้งต่อวิถีทางเกษตรของที่เราทำมาแต่เดิมหรือไม่สอดรับต่อสภาพและส่วนต่าง ๆ ของชุมชนเรา ก็ต้องนำมาวิเคราะห์ว่าเป็นไปได้หรือไม่ ไม่ใช่ว่ารับแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่มาทั้งหมดแล้วไม่นำไปวิเคราะห์ ไม่นำมาปรับใช้เลย
 
 
 
          ลุงประเสริฐ และลุงบุญตัน สองพี่น้องตระกูลมะโนจิต (สมาชิกศูนย์การเรียนรู้ฯ ) ที่พลิกผันชีวิตตนเองจากระบบการทำงานของราชการไทย หันหน้าเข้าสู่การทำเกษตรแบบพอเพียง กล่าวเสริมคำพูดของลุงบุญทรงว่า “นอกจากการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้ภูมิปัญญาเดิมแล้ว สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การทำ “เกษตรแบบพอเพียง” ตามที่ในหลวงท่านได้ทรงให้เป็นแนวทางในการทำเกษตรของประเทศไทยว่า เมื่อการทำเกษตรทุกรูปแบบให้อยู่บนฐานของคำว่า “พอ” พอกิน พออยู่ พอใช้ และพอใจกับสิ่งที่มี คำว่า “พอ” จะทำให้เกษตรกรรู้จักตัวตนที่แท้จริงของตนเอง รู้วิธีการทำเกษตรที่ทำแล้วไม่ทำให้ตัวเองเป็นทุกข์ และรู้ว่าการทำเกษตรไม่อาจทำให้ใครร่ำรวยได้เลยแม้แต่คนเดียว หากขาดระบบจัดการเกษตรที่ดีและไม่มี “ความพอเพียง” อยู่ในจิตใต้สำนึก ”
 
 
 
          เกษตรทฤษฎีใหม่ภายใต้ภูมิปัญญาเดิม และอยู่บนพื้นฐานของเกษตรแบบพอเพียงนั้น เกษตรกรบ้านม่วงเขียว รวมจนถึงเกษตรกรตำบลร้องวัวแดงให้คำนิยามด้วยตัวเองว่า “เกษตรแบบผสมผสาน” บนผืนดิน 10 ไร่ ซึ่งได้ทำเกษตรรูปแบบต่าง ๆ ทั้ง ทำนา ทำสวน เพาะเห็ด และเลี้ยงสัตว์ สามารถผลิตพืชผลทางเกษตรออกสู่ตลาดได้อย่างทั่วถึงมีเงินหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ขายพืชผักสวนครัวได้ทุกวัน ขายเห็ดนางฟ้า กบ และปลาได้ทุก ๆ 1 – 2 เดือน ขายหมูและไก่ได้ทุก ๆ 3 เดือน ขายข้าวได้ทุก ๆ 6 เดือน และในรอบ 1 ปี ขายผลไม้ได้อีกด้วย ที่เหลือคือพืชผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ที่เป็นอาหารได้เกือบทุกมื้อ หากคิดและทำแบบพอเพียง
  

          ในทุกวันนี้การดำเนินงานของศูนย์การเรียนรู้ฯ แห่งนี้ยังคงก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ภายใต้สังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เป็นจุดเรียนรู้การทำเกษตรอย่างยั่งยืนที่เปิดโอกาสให้คนภายนอกสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้ เป็นวิชาชีวิตที่ไม่มีสถาบันการศึกษาใดสอนได้ และเป็นแหล่งทำมาหากินของคนในชุมชนที่ร่วมดำเนินงานในศูนย์การเรียนรู้ฯ ถึงแม้ว่าพายุเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม จะโหมกระหน่ำรุนแรงสักเพียงใด จนในบางครั้งทำให้สมาชิกศูนย์ฯ บางคนท้อถอย ต้องเลิกล้มความตั้งใจหรือถอนตัวออกไป แต่ก็ยังมีสมาชิกศูนย์ฯ อีกหลายคนที่ยังคงแน่วแน่ ตั่งใจ ยืนหยัดพร้อมที่จะผสานพลังกับคนในชุมชน ฝ่าวิกฤตในปัจจุบันไปสู่วันที่ “เกษตรจะยั่งยืนและสร้างความสุขอย่างแท้จริง”
 
ที่มา : http://www.moralcenter.or.th/msrongwuadang/about/2576/

เกษตรระบบผสมผสาน

เกษตรระบบผสมผสาน

   
 ระบบเกษตรกรรมที่จะนำไปสู่การเกษตรยั่งยืน โดยมีรูปแบบที่ดำเนินการมีลักษณะใกล้เคียงกัน และทำให้ ผู้ปฏิบัติมีความสับสนในการให้ความหมายและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ระบบเกษตรผสมผสานและระบบ ไร่นาส่วนผสม ในที่นี้จึงขอให้คำจำกัดความรวมทั้งความหมายของคำทั้ง 2 คำ ดังต่อไปนี้

      ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้ ระบบเกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้ เป็นต้น
ตามแนวคิดดังกล่าวมีหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
 1) ต้องมีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไป
 2) ต้องเกิดการเกื้อกูลประโยชน์ระหว่างกิจกรรมต่างๆ
      ระบบไร่นาสวนผสม (Mixed/Diversefied/Polyculture Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีกิจกรรมการผลิตหลาย ๆ กิจกรรมเพื่อตอบสนองต่อการบริโภคหรือลดความเสี่ยงจากราคา ผลิตผลที่มีความไม่แน่นอนเท่านั้น โดยมิได้มีการจัดการให้กิจกรรมการผลิตเหล่านั้นมีการผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อ ลดต้นทุนการผลิต และคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเหมือนเกษตรผสมผสานการทำไร่นาสวนผสมอาจมีการเกื้อกูลกันจาก กิจกรรมการผลิตบ้าง แต่กลไกการเกิดขึ้นนั้นเป็นแบบ “เป็นไปเอง” มิใช่เกิดจาก “ความรู้ ความเข้าใจ” อย่างไร ก็ตามไร่นาสวนผสม สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถของเกษตรกรผู้ดำเนินการให้เป็นการดำเนินการในลักษณะ ของระบบเกษตรผสมผสานได้                                                                                      เหตุผลที่มาของรูปแบบการเกษตรผสมผสาน 
        จากการทำเกษตรกระแสหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกษตรเชิงเดี่ยวหรือการผลิตสินค้า เกษตรชนิดเดียว เกิดปัญหาหลายๆด้านคือ
 1) รายได้ของครัวเรือนไม่มีเสถียรภาพ
 2) เศษวัสดุจากพืชและมูลสัตว์ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์
 3) การผลิตสินค้าเดี่ยวบางชนิดใช้เงินลงทุนมาก
 4) ครัวเรือนต้องพึ่งพิงอาหารจากภายนอก
       ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการที่หาระบบการผลิตในไร่นา ที่สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทำกินขนาดเล็ก เพื่อลดความเสี่ยงจากการผลิต ลดการพึ่งพิงเงินทุน ปัจจัยการผลิตและอาหารจากภายนอก เศษพืชและมูลสัตว์ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกิจกรรมการผลิต ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในไร่นาและทำให้ผลผลิตและรายได้เพิ่มขึ้นระบบการผลิตดังกล่าวคือ เกษตรผสมผสาน                                                                                      วัตถุประสงค์ของการเกษตรผสมผสาน 
          เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านรายได้ •
          เพื่อลดการพึ่งพาด้านเงินทุน ปัจจัยการผลิต และอาหารจากภายนอก •
          เพื่อให้เกิดการประหยัดทางขอบข่าย •
          เพิ่มรายได้จากพื้นที่เกษตรขนาดย่อยที่จำกัด
 นอกจากนี้ยังมี การเพิ่มพูนความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้เกษตรกรมีความเป็นอิสระในการดำรงชีวิต                                                 
  วิธีการแบ่งสัดส่วนกิจกรรมเกษตรระบบผสมผสาน
 เกษตรผสมผสานเป็นแนวทางหรือหลักในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำรินี้เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร การจัดการพื้นที่แบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ 30:30:30:10    ดังนี้                                   ขุดสระเก็บกักน้ำ  
พื้นที่ประมาณ 30% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้ สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกักน้ำฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์ และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด โสน ฯลฯ
         ปลูกข้าว 
พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้เพียงพอตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่าย และสามารพึ่งตนเองได้
        ปลูกผลไม้ ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 
พื้นที่ประมาณ 30 % ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสมผสานกัน และหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือจากการบริโภคก็นำไปขายได้
       เป็นที่อยู่อาศัย และอื่นๆ
พื้นที่ประมาณ 10 % ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ นี่เป็นทฤษฎีปฏิบัติจริง พื้นที่เป็นนาทั้งหมดหรือไร่สวนด้วย
  จุดเด่นของการเกษตรผสมผสาน 
 1) การลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของรายได้
 2) รายได้สม่ำเสมอ
 3) การประหยัดทางขอบข่าย ค่าใช้จ่ายในไร่นาลดลง มีรายได้สุทธิเพิ่มมากขึ้น
 4) ลดการพึ่งพิงจากภายนอก
 5) ลดการว่างงานตามฤดูกาล มีงานทำทั้งปี ทำให้ลดการอพยพแรงงาน
  ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำเกษตรผสมผสาน 
 ระบบเกษตรผสมผสานเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมที่มีกิจกรรมตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไปในพื้นที่เดียวกัน และกิจกรรมเหล่านี้จะมีการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น จึงเป็นระบบที่นำไปสู่ การเกษตรแบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) จึงก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
      1. ลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความแปรปรวนในแต่ละปี ซึ่งมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น เช่น เกิดภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง น้ำท่วมฉับพลัน เป็นต้น จึงเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรกรที่มีกิจกรรมการเกษตรเพียง อย่างเดียว เช่น ข้าว หรือพืชไร่ ดังนั้น หน่วยงานวิจัยและพัฒนาของกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งเกษตรกรบางส่วนจึงได้พยายามศึกษาและพัฒนาการแปรเปลี่ยนพื้นที่นาหรือไร่นาบางส่วนมาดำเนินการระบบเกษตรผสมผสานที่มีหลาย ๆ ปลูกพืชสวน (ไม้ผล พืชผัก) การเลี้ยงสัตว์ หรือการเลี้ยงปลาทดแทนรายได้จากการปลูกข้าวหรือพืชไร่ที่อาจเสียหาย จากสภาวะฝนแล้งหรือน้ำท่วม
      2. ลดความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาผลผลิต ในการดำเนินระบบการเกษตรที่มีเพียงกิจกรรมเดียว ที่มีการผลิตเป็นจำนวนมาก ผลผลิตที่ได้เมื่อออกสู่ตลาดพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นข้าว พืชไร่ ไม้ผล หรือพืชผัก เมื่อมีปริมาณ เกินความต้องการของตลาดย่อมทำให้ราคาของผลผลิตต่ำลง การแปรเปลี่ยนพื้นที่นาหรือไร่บางส่วนมาดำเนินการ ระบบเกษตรผสมผสานจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาผลผลิตในตลาดลงได้ เนื่องจากเกษตร กรสามารถจะเลือกชนิดพืชปลูกและเลือกกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี
      3. ลดความเสี่ยงจากการระบาดของศัตรูพืช ในการดำเนินกิจกรรมการปลูกข้าว หรือพืชไร่เพียงอย่างเดียว เกษตรกรจะมีความเสี่ยงอย่างมากเมื่อเกิดการระบาดของศัตรูพืชขึ้น เช่น กรณีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคใบหงิกอย่างรุนแรงในปี 2532-2533 ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตภาคกลางได้รับความ เสียหายอย่างมาก เกษตรกรต้องประสบความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ โดยไม่มีรายได้จากกิจกรรมอื่นมาเจือจุนครอบครัวได้
      4. ช่วยเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ตลอดปี การดำเนินระบบเกษตรผสมผสานซึ่งมีกิจกรรมหลายกิจกรรม ในพื้นที่เดียวกัน จะก่อประโยชน์ในด้านทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะเป็นรายได้ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายได้ประจำฤดูกาล ตัวอย่างเช่น มีรายได้ประจำวันจากการ ขายพืชผัก รายได้ประจำสัปดาห์จาการเพาะเห็ดฟางในช่วงฤดูแล้ง (ม.ค.-เม.ย.) รายได้ประจำเดือนจากไม้ผลอายุสั้น ได้แก่ กล้วย ฝรั่ง ละมุด และรายได้ประจำฤดูกาลจากข้าว ข้าวโพดหวาน ถั่วลิสง ถั่วเขียว ที่ปลูกหลังนา
     5. ช่วยก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวพันธุ์ (Species Diversity) การดำเนินระบบเกษตรผสมผสาน ซึ่งจะมีกิจกรรมหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน พบว่าทำให้เกิดความหลากหลายทาง ชีวพันธุ์ (Species Diversity) เกิดขึ้นในพื้นที่
     6. ช่วยกระจายการใช้แรงงาน ทำให้มีงานทำตลอดปี เป็นการลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกภาคการ เกษตร และในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศขณะนี้ ทำให้เกิดปัญหาคนว่างงานจำนวนมาก ระบบเกษตรผสม ผสานจะรองรับแรงงานเหล่านี้ได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากระบบเกษตรผสมผสาน มีกิจกรรมหลายกิจกรรมแต่ละกิจกรรมมีการ ใช้แรงงานแตกต่างกันไป เมื่อรวมกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ด้วยกันในระบบเกษตรผสมผสานจึงมีการใช้แรงงานมากขึ้น มีการกระจายแรงงานไปตามกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดปี เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเกษตรที่มีกิจกรรมเดียว ดังเช่น ข้าวหรือพืช ไร่ และสามารถลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน ออกจากพื้นที่ได้ถึงร้อยละ 87
     7. ช่วยก่อให้เกิดการหมุนเวียน (Recycling) ของกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับไร่นา เป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรในระดับไร่นา ไม่ให้เสื่อมสลายหรือถูกใช้ให้หมดไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากระบบ เกษตรผสมผสานจะมีการเกื้อกูลประโยชน์ต่อกัน เช่น ปลูกไม้ผลรอบบ่อปลา และเลี้ยงไก่เนื้อบนบ่อปลา แล้วพบว่ามูลและอาหารของไก่ ที่ตกลงไปในบ่อปลา จะช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืชอาหารของปลา ทำให้ปลามีอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่เมื่อมีมากเกินไป จะแย่งอากาศในน้ำกับปลา (น้ำจะมีสีเขียวเข้ม) ทำให้ปลาขาดอากาศ จึงจำเป็นต้องมีการระบายน้ำออกจากบ่อปลาโดย ปล่อยลงนาข้าว จากผลการดำเนินงานนี้จะพบว่าเกษตรกรสามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยในนาข้าวได้ จากผลการสุ่มตัวอย่างผลผลิต พบว่า แปลงของเกษตรกรที่มีการใส่ปุ๋ยอัตรา 50 กก./ไร่ จะได้ผลผลิต 764 กก./ไร่ แต่แปลงที่ใส่น้ำจากบ่อเลี้ยงปลา ร่วมกับการใช้ปุ๋ย 21.4 กก./ไร่ จะได้ผลผลิต 759 กก./ไร่ ซึ่งแตกต่างกันไม่มากนัก ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุน การผลิตข้าวลงได้ 
     8. ช่วยให้เกษตรกรมีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคภายในครัวเรือน ในการดำเนินระบบเกษตรผสมผสานที่มีหลายกิจกรรมช่วยทำให้เกษตรกรสามารถมีอาหารไว้บริโภคในครอบครัวครบ ทุกหมู่ โดยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจะได้จากข้าว ข้าวโพด อาหารประเภทโปรตีน จะได้จากไก่ ปลา พืชตระกูลถั่ว อาหารประเภทวิตามิน เส้นใยจากพืชผักผลไม้และเห็ดฟาง ช่วยทำให้เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่ายค่าอาหารและมีการ ปรับปรุงคุณภาพโภชนาการและสุขภาพของเกษตรกรในท้องถิ่นให้ดีขึ้น
     9. ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น การดำเนินกิจกรรมในระบบเกษตรผสมผสานช่วยทำให้มีการ กระจายการใช้แรงงานทำให้มีงานทำตลอดทั้งปี และมีการกระจายรายได้จากกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการลดปัญหาการ เคลื่อนย้ายแรงงานออกจากภาคการเกษตรไปสู่ภาคอื่น ๆ เช่น ภาคอุตสาหกรรม ภาคการขายบริการต่าง ๆ เมื่อไม่มีการอพยพแรงงานออกจากท้องถิ่น ทำให้ครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้าทั้งพ่อ แม่ ลูก ช่วยทำให้สภาพจิตใจดีขึ้น สภาพทางสังคมในท้องถิ่นดีขึ้น ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น 

ที่มา :
       

เกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System)

เกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) 


                  การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานเป็นวิธีหนึ่งที่ลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระบบการผลิตให้มีการใช้น้อยหรือใช้ตามความจำเป็น  หรือเมื่อมีการทำลายของศัตรูพืช  สูงเกินระดับเศรษฐกิจ  รวมถึงการใช้สารธรรมชาติหรือศัตรูธรรมชาติมาทดแทนการใช้สารเคมี  เพื่อไห้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ  ปราศจาการปนเปื้อนของสารเคมีและมีสุขอนามัยตรงตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค


Picture
 

 การผลิตแบบไร่นาสวนผสม  หรือการทำเกษตรแบบผสมผสาน

                    เป็นวิธีทำการเกษตรที่มีการเพาะปลุกหรือเลี้ยงสัตว์หลายๆๆชนิดอยู่พื้นที่เดียวกัน  มีการนำเศษวัสดุเหลือใช้จากการผลิตหนึ่ง  เพื่อใช้ประโยชน์อย่างครบวงจร  โดยทั่วไปการผลิตแบบนี้มักเป็นรูปแบบการเกษตรประเภททำเพื่อพอกินพอใช้  ทำโดยสมาชิกในครัวเรือน  พอมีเหลือจึงขาย  ซึ่งการเกษตรแบบนี้จัดว่าเป็นการเกษตรแบบดั้งเดิม  ที่เกษตรกรสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างพอเพียง  แต่อาจไม่เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน  เนื่องจากเกษตรกรจำเป็นต้องมีรายได้หลักเพื่อใช้จ่ายภายในครอบครัว  รวมทั้งเพื่อการศึกษาของบุตรหลาน  ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บป่วย  หลักหารสำคัญของการผลิตแบบนี้คือ  การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ  ลดการใช้สารเคมีการเกษตรหรือใช้แนวทางเลือกอื่นในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช  ซึ่งการเกษตรแบบนี้ถ้าได้รับการพัฒนาให้เหมาะสมจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรทำให้มีงานทำตลอดปี  มีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวและลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานจากส่วนภูมิภาคเข้าสู่ส่วนกลางได้


   หลักการและเงื่อนไขของเกษตรผสมผสาน

                    มีหลักการที่สำคัญ  2  ประการคือ

1.       มีกิจกรรมการเกษตรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป  และกิจกรรมการเกษตรทั้งสองชนิดต้องทำในเวลาและสถานที่เดียวกัน  มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากกว่าให้เกิดกำไรสูงสุด

2.       เกิดการเกื้อกูลกันอย่างต่อเนื่องระหว่างกิจกรรมเกื้อกูลกันระหว่างพืชกับพืช พืชกับปลา  สัตว์กับปลา  พืชกับสัตว์  สัตว์กับสัตว์   ซึ่งลักษณะการเกื้อกูลกันของระบบเกษตรผสมผสาน  จึงทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง  หรือที่เรียกว่า  เป็นการประหยัดทางขอบข่าย (Economy of Scope)  และลดการพึ่งพิงปัจจัยจากภายนอกในที่สุด

                    ในด้านเทคนิคและการจัดการไร่นานั้น  เกษตรผสมผสานได้ให้ความสำคัญในเรื่องของการสร้างความหลากหลายของพืช  สัตว์  และทรัพยากรชีวภาพ  การใช้ประโยชน์เกื้อกูลกันระหว่างกิจกรรม  การใช้ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก  การใช้วัสดุหรือพืชคลุมดิน  การปลูกพืชหลายระดับ  มีแหล่งน้ำในไร่นา  สามารถปลูกพืชคลุมดิน  ไถพรวนดิน  หรือปุ๋ยเคมีก็ได้

   การพัฒนารูปแบบการเกษตรผสมผสานในประเทศไทย

                ในประเทศไทยมีการทำการเกษตรแบบผสมผสานมาช้านานแล้ว  จากรูปแบบการผลิตที่ง่ายๆ เช่น  การเลี้ยงปลาในนาข้าว  และหลังจากที่หน่วยงานของรัฐเข้ามามีบทบาทในด้านการส่งเสริมและวิจัยมากขึ้น  รูปแบบการผลิตจึงมีความซับซ้อนมากขึ้น  คือ  มีการผสมผสานระหว่างพืช สัตว์และปลา  เป็นต้น  โดยทั่วไปรูปแบบของการผลิตซึ่งประกอบด้วยชนิดและขนาดของกิจกรรมการผลิตในไร่นาจะแตกต่างกันไป
ซึ่งปัจจัยที่กำหนดรูปแบบการผลิตมี 3 ประการคือ

1.       สภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่  เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน  ระดับความสูงต่ำของพื้นที่  แหล่งน้ำ  สภาพลมฟ้าอากาศ และอื่นๆ

2.       สภาพแวดล้อมทางชีวภาพของพื้นที่  ได้แก่  ชนิดของพืช  สัตว์และปลาที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม

3.       สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม  ได้แก่  ขนาดของพื้นที่ถือครอง  จำนวนแรงงานในครัวเรือน  เงินออม  ตลาด  พฤติกรรมการบริโภค เป็นต้น

รูปแบบของเกษตรผสมผสาน

สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบคือ

1.       การผสมผสานโดยยึดพืชเป็นหลัก  รายได้จากพืชจะเป็นรายได้หลักของครัวเรือน  ส่วนรายได้จากกิจกรรมอื่นๆ เช่น ปลา และเลี้ยงสัตว์  จะเป็นรายได้รอง

2.       รายได้ผสมผสานโดยยึดสัตว์เป็นหลัก  จะได้รายได้หลักจากสัตว์เลี้ยง  ส่วนรายได้จากพืชและปลาจะเป็นรายได้รอง

3.       การผสมผสานโดยยึดปลาเป็นหลัก  รายได้หลักมากจากการเลี้ยงปลา  ส่วนรายได้จากพืชและสัตว์จะเป็นรายได้รอง

    จุดเด่นของการเกษตรผสมผสาน

1.       การลดความเสี่ยง  และความไม่แน่นอนของรายได้

2.       รายได้สม่ำเสมอ

3.       การประหยัดทางขอบข่าย  ค่าใช้จ่ายในไร่นาลดลง  มีรายได้สุทธิเพิ่มมากขึ้น

4.       ลดการพึ่งพิงจากภายนอก

5.       ลดการว่างงานตามฤดูกาล  มีงานทำทั้งปี  ทำให้ลดการอพยพแรงงาน

ระบบเกษตรผสมผสาน และระบบไร่นาสวนผสม

ระบบเกษตรผสมผสาน และระบบไร่นาสวนผสม
ระบบเกษตรกรรมที่จะนำไปสู่การเกษตรยั่งยืน โดยมีรูปแบบที่ดำเนินการมีลักษณะใกล้เคียงกัน และทำให้ ผู้ปฏิบัติมีความสับสนในการให้ความหมายและวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ระบบเกษตรผสมผสานและระบบ ไร่นาสวนผสม ในที่นี้จึงขอให้คำจำกัดความรวมทั้งความหมายของคำทั้ง 2 คำ ดังต่อไปนี้
ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง    ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล ประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวด          ล้อมการอยู่รวมกันอาจจะอยู่ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช  พืชกับสัตว ์ หรือสัตว์กับสัตว์ก็ได้  ระบบ เกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการ โดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรม แต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัย การผลิตและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนำวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุน เวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอีกชนิดหนึ่งกับการผลิตอีกชนิดหนึ่งหรือหลายชนิด  ภายในไร่นาแบบครบวงจร ตัวอย่างกิจกรรมดังกล่าว เช่น การเลี้ยงไก่ หรือสุกรบนบ่อปลา การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงผึ้งในสวนผลไม้   เป็นต้น
ระบบไร่นาสวนผสม (Mixed/Diversefied/Polyculture Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีกิจกรรมการผลิตหลาย ๆ กิจกรรมเพื่อตอบสนองต่อการบริโภคหรือลดความเสี่ยงจากราคา ผลิตผลที่มีความไม่แน่นอนเท่านั้น   โดยมิได้มีการจัดการให้กิจกรรมการผลิตเหล่านั้นมีการผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อ ลดต้นทุนการผลิต และคำนึงถึงสภาพแวดล้อมเหมือนเกษตรผสมผสานการทำไร่นาสวนผสมอาจมีการเกื้อกูลกันจาก กิจกรรมการผลิตบ้าง แต่กลไกการเกิดขึ้นนั้นเป็นแบบ เป็นไปเองมิใช่เกิดจากความรู้ ความเข้าใจอย่างไร ก็ตามไร่นาสวนผสม สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถของเกษตรกรผู้ดำเนินการให้เป็นการดำเนินการในลักษณะ ของระบบเกษตรผสมผสานได้
รูปแบบของระบบเกษตรผสมผสาน
ระบบเกษตรผสมผสานนั้น ถึงแม้ว่าเกษตรกรจะมีการดำเนินการกันมาช้านานแล้วก็ตามแต่ลักษณะของการดำเนินการ ยังมีความแตกต่างกันไป แล้วแต่การจะนำองค์ประกอบต่าง ๆ มาผสมผสานกันมากน้อยแค่ไหน และผสมผสานในรูป รูปแบบใดก็ตามยังมีความหมายหลากหลาย การศึกษารายละเอียดเชิงวิชาการในด้านนี้ก็ยังมีไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบ กับการศึกษาในด้านกิจกรรมเดี่ยว ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือปลาก็ตาม ฉะนั้นการกำหนดรูปแบบดำเนินการเกษตร ผสมผสานก็จะมีหลายแบบเช่นกัน ทั้งนี้อาจจะยึดการแบ่งตามวิธีการดำเนินการลักษณะพื้นที่กิจกรรมที่ดำเนินทรัพ     ยากร เป็นต้น ซึ่งพอที่จะกล่าวได้ดังนี้
1. แบ่งตามกิจกรรมที่ดำเนินการอยู่เป็นหลัก
1.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมพืชเป็นหลัก ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการนี้จะมีพืชเป็นรายได้หลัก
1.2 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก ซึ่งการดำเนินการเลี้ยงสัตว์จะเป็นรายได้หลัก
1.3 ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมประมงเป็นหลัก ซึ่งจะมีกิจกรรมเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นรายได้หลัก
1.4 ระบบเกษตรผสมผสานแบบไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตรเป็นระบบที่มีการจัดการป่าไม้เป็นหลักร่วมกับการเกษตร ทุกแขนง อาจประกอบด้วยการปลูกพืชเกษตรในสวนป่า การปลูกพืชเกษตรร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ในสวนป่าระบบนี้มุ่ง หวังที่จะให้เป็นตัวกลางเพื่อผ่อนคลายความต้องการที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมกับความต้องการป่าไม้ เพื่อควบคุมสิ่ง แวดล้อมให้สามารถดำเนินควบคู่กันไปโดยคำนึงถึงสภาพทางสังคมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมประเพณี   รวมทั้งช่วย พัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎรที่เกี่ยวข้อง ระบบวนเกษตรที่ดีควรสามารถเพิ่มการซึมซับน้ำ รักษาน้ำใต้ดิน ลดการสูญ เสียดิน ลักษณะพันธุ์พืชที่ใช้ควรเป็นทรงพุ่มเพื่อลดความรุนแรงของเม็ดฝนที่ตกกระทบผิวดินสามารถรักษาสภาพดุลย์ ของสภาวะแวดล้อมให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูกร่วม เช่น บังร่มเงา พายุ ฝน อีกทั้งควบคุมสภาพความชุ่มชื้นและอุณหภูมิ ให้ดี พันธุ์ไม้ที่ปลูกควรมีรากลึกพอที่สามารถหมุนเวียนธาตุอาหารในระดับที่ลึกขึ้นมาสู่บริเวณผิวดิน เป็นประโยชน์ต่อ พืชรากตื้นที่ปลูกร่วม โดยรวมทั้งระบบควรให้ผลตอบแทนแก่เกษตรกรหลายด้าน เช่น ผลผลิตในรูปอาหาร ยารักษา โรค ไม้ฟืน ไม้สร้างบ้านและรายได้ สิ่งสำคัญที่สุดควรเป็นระบบที่อนุรักษ์ดินและน้ำได้ดีปลูกได้หลายสภาพแวดล้อม และง่ายต่อการปฏิบัติในสภาพของเกษตรกรวนเกษตรที่พอประยุกต์ใช้ในประเทศไทยมีอยู่ 3 ระบบใหญ่ คือ ระบบป่า ไม้-ไร่นา, ระบบป่าไม้-เลี้ยงสัตว์ และระบบเลี้ยงสัตว์-ป่าไม้-ไร่นา ซึ่งวิธีการนำแต่ละระบบไปประยุกต์ใช้ย่อมขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของพื้นที่เป็นเกณฑ์
2. แบ่งตามวิธีการดำเนินการ
2.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีการใช้สารเคมี ในระบบการผลิตจะมีการใช้สารเคมีในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อจุดประสงค์ ให้ได้ผลผลิตและรายได้สูงสุด
2.2 ระบบการเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด เช่น ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ฮอร์โมน สารเคมีในอาหาร สัตว์ คำนึงถึงการสงวนรักษาอินทรีย์วัตถุในดินด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนการปลูกพืชคลุมดิน ใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก ใช้ เศษอินทรีย์วัตถุจากไร่นา มุ่งสร้างความแข็งแกร่งให้แก่พืชด้วยการบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้ก็จะอยู่ในรูป ปลอดสารพิษ
2.3 ระบบการเกษตรธรรมชาติ เป็นระบบการเกษตรที่ใช้หลักการจัดระบบการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่ประสานความ ร่วมมือกับธรรมชาติอย่างสอดคล้องและเกื้อกูลซึ่งกันและกัน งดเว้นกิจกรรมที่ไม่จำเป็นหลักใหญ่ ๆ ได้แก่ ไม่มีการ พรวนดิน ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่กำจัดวัชพืช ไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ทั้งนี้จะมีการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน ใช้วัสดุเศษ พืชคลุมดิน อาศัยการควบคุมโรคแมลงศัตรูด้วยกลไกการควบคุมกันเองของสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ การปลูกพืชใน ในสภาพแวดล้อมที่มีความสมดุลย์ทางนิเวศวิทยา
3. แบ่งตามประเภทของพืชสำคัญเป็นหลัก
3.1 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีข้าวเป็นพืชหลัก พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่นาทำการปลูกข้าวนาปีเป็นพืชหลักการผสม ผสานกิจกรรมเข้าไปให้เกื้อกูลอาจทำได้ทั้งในรูปแบบของพืช-พืชเช่นการปลูกพืชตระกูลถั่ว พืชผัก พืชเศรษฐกิจอื่น ๆ ก่อนหรือหลังฤดูกาลทำนา อีกระบบหนึ่งที่นับได้ว่ามีความสำคัญเช่นกัน แต่ยังไม่ได้มีการกล่าวถึงมากนักในแง่ของการ เกษตรผสมผสาน แต่จะมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของเกษตรกรในช่วงเวลาที่ผ่านมาอยู่ค่อนข้างมากและมีให้เห็นอยู่ทั่ว ๆ ไปในพื้นที่นาดอนอาศัยน้ำฝนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ระบบต้นไม้ในนาข้าว ต้นไม้เหล่านี้มีทั้งเป็นป่าดั้ง เดิม และเป็นป่าไม้ที่ชาวบ้านปลูกขึ้นใหม่หรือเกิดจากการแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติ ภายหลังต้นไม้เหล่านี้จะอยู่ทั้งในนา บนคันนา ที่สูง เช่น จอมปลวก หรือบริเวณเถียงนา เป็นต้น ที่พบเห็นโดยทั่ว ๆ ไป ได้แก่ ยางนา ตะเคียนทอง กะบาก สะแบง ไม้รัง จามจุรี มะขาม มะม่วง เป็นต้น นับได้ว่าเป็นทรัพยากรเอนกประสงค์ใช้เป็นอาหารและยาแก่มนุษย์ อาหารสัตว์ เชื้อเพลิง ไม้ก่อสร้าง ไม้ใช้สอยขนาดเล็ก ผลิตภัณฑ์จากต้นไม้นำไปใช้ประโยชน์ เช่น น้ำยาง ทำคบไต้ ครั่ง เครื่องจุดไฟ ให้ร่มเงา นอกจากนี้ยังช่วยรักษาคันนาให้คงรูป สามรถเก็บกักน้ำ ทั้งนี้เนื่องด้วยดินโดยทั่วไปมีเนื้อดินเป็น ทราย มีโครงสร้างอ่อนแอ ไม่สามารถสร้างคันนาให้ทนทาน เว้นเสียแต่จะมีสิ่งมาเสริมหรือยึดไว้ ต้นไม้ยังใช้เป็นหลัก ที่เก็บฟางข้าวมาสุมไว้ สำหรับเอาไว้เลี้ยงสัตว์ในฤดูแล้ง ระบบพืชในนาข้าวที่นับว่าเป็นคู่สมพงษ์และมีความยั่งยืนมา ช้านาน ได้แก่การปลูกตาลร่วมกับระบบการปลูกข้าว ที่พบเห็นกันในพื้นที่บางส่วนของภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่างและ ภาคใต้ เป็นต้น เป็นลักษณะการปลูกต้นตาลบนคันนาเป็นส่วนใหญ่ และมีบางส่วนที่ต้นตาลขึ้นอยู่ในกระทงนา เกษตรกร ได้ทั้งผลผลิตข้าวและผลิตภัณฑ์จากตาล ซึ่งอาจอยู่ในรูปของน้ำหวานน้ำมาเคี่ยวเป็นน้ำตาล ผลตาลอ่อน ผลตาลแก่นำมา ทำขนมต่าง ๆ ได้ ต้นตาลที่มีอายุมาก ผลผลิตลดลง สามารถแปรสภาพเนื้อไม้มาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างได้ด้วย เช่น ทำเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ อีกรูปแบบหนึ่งที่ปัจจุบันมีการดำเนินการกันมากขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ การนำ ปลาเข้ามาร่วมระบบ ซึ่งทำได้ทั้งในลักษณะการเลี้ยงปลาในนาข้าว การผสมผสาน พืช-สัตว์-ปลา เช่น การแปรเปลี่ยน พื้นที่นาบางส่วนเป็นร่องสวนปลูกไม้ผลเลี้ยงปลาในร่องสวน เลี้ยงสัตว์ปีก โค โดยใช้เศษอาหารจากพืชต่าง ๆ ในฟาร์ม ให้เป็นอาหารสัตว์ได้ด้วย
3.2 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีพืชไร่เป็นพืชหลัก การผสมผสานกิจกรรม พืช-พืช เช่น ลักษณะการปลูกพืชตระกูลถั่ว แซมในแถวพืชหลัก เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฝ้าย เป็นต้น สำหรับรูปแบบของกิจกรรม พืช-สัตว์ เช่น ปลูกพืชอาหาร สัตว์ต่าง ๆ ควบคู่กับการเลี้ยงโค การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เป็นต้น
3.3 ระบบเกษตรผสมผสานที่มีไม้ผล ไม้ยืนต้น เป็นพืชหลัก การผสมผสานกิจกรรม พืช-พืช เช่น การใช้ไม้ผลต่างชนิด ปลูกแซม เช่น ในกรณีโกโก้แซมในสวนมะพร้าว การปลูกพืชตระกูลถั่วในแถวไม้ผลยืนต้น การปลูกพืชต่างระดับ เป็นต้น รูปแบบกิจกรรม พืช-สัตว์ โดยการเลี้ยงสัตว์ เช่น โคในสวนไม้ผล สวนยางพารา การปลูกพืชอาหารสัตว์ในแถวไม้ผล ไม้ยืนต้น แล้วเลี้ยงโคควบคู่จะมีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
4. แบ่งตามลักษณะของสภาพพื้นที่เป็นตัวกำหนด
4.1 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่สูง ลักษณะของพื้นที่จะอยู่ในที่ของภูเขาซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ป่าแต่ได้ถูกหักล้างถางพง มาทำพืชเศรษฐกิจและพืชยังชีพต่าง ๆ ส่วนใหญ่พื้นที่มีความลาดชันระหว่าง 10-50% ดั้งเดิมเกษตรกรจะปลูกพืชใน ลักษณะเชิงเดี่ยวอายุสั้น เช่น ข้าว ข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว ผักต่าง ๆ ซึ่งมักจะเกิดปัญหาของการทำลายทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม มีการชะล้างหน้าดินสูง ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลงรวดเร็ว มีผลกระทบต่อผลผลิตพืชใน    ระยะยาว ฉะนั้น รูปแบบของการทำการเกษตรผสมผสานจะช่วยรักษาหรือชะลอความสูญเสียลงได้ระดับหนึ่ง  การ ดำเนินการอาจทำในรูปของวนเกษตร การปลูกไม้ผลไม้เมืองหนาวชนิดต่าง ๆ ผสมผสาน เช่น ได้มีการศึกษาระบบพืช แซมของไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ บ๊วยแซมด้วยท้อ บ๊วยแซมด้วยพลับ พลับแซมด้วยท้อ และพลับแซมด้วยพลับ ทั้งนี้ การจัดการดินโดยทำขั้นบันได เพื่อลดการพังทะลายของดินพร้อมทั้งทำการปลูกหญ้าแฝกตามขอบบันได ผลการศึกษา ในระยะแรกขณะที่ไม้ผลยังไม่ให้ผลผลิต ได้นำพืชอายุสั้นปลูกในแถวไม้ผล ได้แก่ ถั่วแดง และข้าวไร่ ซึ่งได้ผลผลิตถั่ว แดง 82 กก./ไร่ ข้าวไร่เจ้าฮ่อ และข้าวเจ้าอาข่า ให้ผลผลิต 302 และ 319 กก./ไร่ ตามลำดับ นอกจากนี้การเจริญ เติบโตของแฝกค่อนข้างดี มีใบแฝกปริมาณมาก ซึ่งจะทำการเกี่ยวใบแฝกแล้วนำมากองเป็นระยะในระหว่างขั้นบันได และให้สลายตัวใช้เป็นปุ๋ยหมักและเพิ่มอินทรีย์วัตถุ เกิดประโยชน์ต่อไม้ผลหลัก มีการศึกษาในรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสม ได้แก่ การผสมผสานระบบปลูกพืชร่วมกับแถบไม้พุ่ม (Alley Cropping) หรือแถบหญ้า (Grass Strip Cropping) ตามแนวระดับในพื้นที่ความลาดชัน 10-50% ตัวอย่างของไม้แถบ เช่น กระถิน แคฝรั่ง แคบ้าน  ถั่วมะแฮะ ครามป่า ต้นเสียว เป็นต้น สำหรับพืชแซมในแถวไม้พุ่ม ได้แก่ พืชตระกูลถั่ว พืชอาหารสัตว์ เช่น ถั่วดำ ถั่วเล็บมือนาง ถั่วแปบ ถั่วนิ้วนางแดง ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หญ้ารูซี่ เนเปียร์ กินี บาเฮีย แฝกหอม เป็นต้น
4.2 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบเชิงเขา พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดอนอาศัยน้ำฝน มีการปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก รองลงมาจะเป็นไม้ผลยืนต้น ข้าวไร่ การจัดการในรูปผสมผสาน ได้แก่ การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น ตลอดจนไม้ ้ใช้สอยร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านผลผลิต รายได้ ตลอดจนสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติดีขึ้นได้ การปลูก พืชเศรษฐกิจแซมด้วยพืชอาหารสัตว์ ซึ่งมีรายงานผลการดำเนินการปลูกข้าวไร่แซมด้วยพืชอาหารสัตว์พวกเซ็นโตรซีมา และแกรมสไตโล จะทำให้ทั้งผลผลิตข้าวและถั่วต่าง ๆ ซึ่งใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ต่อไป การปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชไร่ ่เศรษฐกิจอายุสั้น หรือข้าวไร่บางส่วน มาทำกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชอาหารสัตว์ประเภทต่าง ๆ ควบคู่กันไป จะเป็นการสร้างความหลากหลายของระบบได้มากขึ้นและช่วยลดความเสี่ยง
4.3 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ดอน โดยทั่วไปในพื้นที่ดอนจะมีการปลูกพืชไร่เศรษฐกิจต่าง ๆ เชิงเดี่ยวเป็นหลัก ลักษณะของการทำการเกษตรผสมผสานอาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ลักษณะการปลูกพืชแซม โดยใช้พืชตระกูลถั่วแซม ในแถวพืชหลักต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด ฝ้าย มันสำปะหลัง ฯลฯ การเปลี่ยนพื้นที่เป็นไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอยผสมผสาน และอาจจะมีพืชตระกูลถั่วแซมในแถวพืชหลักในระยะแรก ๆ อีกแนวทางหนึ่ง ได้แก่ การใช้พื้นที่มาดำเนินการเลี้ยง ปศุสัตว์ เช่น โค และปลูกพืชอาหารสัตว์ควบคู่กันไป เป็นต้น
4.4 ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นนาข้าวแบบแผนการปลูกพืชส่วนใหญ่จะเป็นข้าว อย่างเดียว ข้าว-ข้าว, ข้าว-พืชไร่เศรษฐกิจ, ข้าว-พืชผักเศรษฐกิจ, พืชผัก-ข้าว-พืชไร่, พืชไร่-ข้าว-พืชไร่ เป็นต้น การจะปลูกพืชได้มากครั้งในรอบปีขึ้นอยู่กับระบบการชลประทานเป็นหลัก การเกษตรแบบผสมผสานในพื้นที่นี้จะมี ีรูปแบบและกิจกรรมที่ดำเนินการเช่นเดียวกับที่กล่าวไว้แล้วในข้อ 3.1 (ระบบเกษตรผสมผสานที่มีข้าวเป็นพืชหลัก) สำหรับในพื้นที่ที่มีระดับน้ำสูง นอกจากจะทำการปลูกข้าวขึ้นน้ำแล้ว ยังมีลู่ทางพัฒนาและปรับเปลี่ยนพื้นที่เพื่อทำ กิจกรรมการเลี้ยงปลาในบ่อได้ด้วยรูปแบบการเกษตรผสมผสานหลัก ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ยังอาจแบ่งย่อยออกไปได้ ้อีกหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้หลักการอะไรมาเป็นตัวกำหนด ซึ่งจะมีความคิดหลากหลายแตกต่างกันไป เช่น การใช้ลักษณะของทรัพยากรน้ำเป็นตัวกำหนดก็จะมีรูปแบบเกษตรผสมผสานแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ เกษตรผสมผสาน ในพื้นที่เขตใช้น้ำฝนและเกษตรผสมผสานในพื้นที่เขตชลประทาน นอกจากนี้ในเขตชลประทานก็สามารถแบ่งเป็นกลุ่ม ย่อยได้อีกตามระบบของชลประทาน คือ ชลประทานที่มีเขื่อนกักเก็บน้ำและมีคลองส่งน้ำไปในไร่-นาชลประทานโดย การสูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากแหล่งน้ำ ระบบบ่อบาดาลน้ำตื้น น้ำลึก ตลอดจนระบบการใช้น้ำหยด เป็นต้น นอกจากนี้ การใช้ คุณสมบัติของดินเป็นตัวกำหนด ก็จะสามารถกำหนดรูปแบบของการเกษตรผสมผสานได้ดังนี้ คือ เกษตรผสมผสานใน พื้นที่ดินเปรี้ยว พื้นที่ดินเค็ม พื้นที่ดินด่าง และพื้นที่ดินพรุ เป็นต้น ถึงแม้จะมีการแบ่งรูปแบบการเกษตรผสมผสานได้ ้หลายอย่าง แต่การดำเนินการตามกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย พืช-พืช  พืช-สัตว พืช-ปลา สัตว์-ปลาและพืช-สัตว์- ปลา จะมีลักษณะเป็นไปในทำนองเดียวกัน แล้วแต่ว่าในรูปแบบต่าง ๆ จะมีศักยภาพในการดำเนินการมากน้อยแตกต่าง กันออกไปตามลักษณะพื้นที่ ทรัพยากร และสภาพเศรษฐกิจ สังคม อย่างไรก็ตามการที่จะนำองค์ประกอบด้าน พืช สัตว์ ประมง มาดำเนินการผสมผสานเข้าด้วยกันในระบบการเกษตรนั้น ย่อมที่จะมีทั้งปฏิสัมพันธ์เชิงเกื้อกูลและเชิงแข่งขัน ทำลายกัน ซึ่งพอที่จะกล่าวได้ดังนี้
เกษตรผสมผสานที่มีปฏิสัมพันธ์เชิงเกื้อกูล
1. เกื้อกูลกันระหว่างพืชกับพืช
1.1 พืชตระกูลถั่วช่วยตรึงธาตุไนโตรเจนให้กับพืชชนิดอื่น
1.2 พืชยืนต้นให้ร่มเงากับพืชที่ต้องการแสงแดดน้อย เช่น กาแฟ โกโก้ ชา สมุนไพร ฯลฯ
1.3 พืชเป็นอาหารและที่อยู่อาศัยให้กับแมลงศัตรูธรรมชาติ เพื่อช่วยกำจัดศัตรูพืชไม่ให้เกิดระบาดกับพืชชนิดอื่น ๆ เช่น การปลูกถั่วลิสงระหว่างแถวในแปลงข้าวโพด จะช่วยให้แมลงศัตรูธรรมชาติได้มาอาศัยอยู่ในถั่วลิสงมาก และจะช่วยกำจัดแมลงศัตรูของข้าวโพด
1.4 พืชยืนต้นเป็นที่อยู่อาศัยและอาหารแก่พืชประเภทเถาและกาฝาก เช่น พริกไทย พลู ดีปลี กล้วยไม้ ฯลฯ
1.5 พืชที่ปลูกแซมระหว่างแถวพืชหลัก จะช่วยป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นแย่งอาหารกับพืชหลักที่ปลูก เช่น การปลูกพืช ตระกูลถั่วเศรษฐกิจในแถวข้าวโพด มันสำปะหลัง ฝ้าย เป็นต้น
1.6 พืชแซมระหว่างแถวไม้ยืนต้นในระยะเริ่มปลูกจะช่วยบังลมบังแดด และเก็บความชื้นในดินให้กับพืชยืนต้น เช่น การปลูกกล้วยแซมในแถวไม้ผลต่าง ๆ ในแถวยางพารา เป็นต้น
1.7 พืชช่วยไล่และทำลายแมลงศัตรูพืชไม่ให้เข้ามาทำลายพืชที่ต้องการอารักขา เช่น ตะไคร้หอม ถั่วลิสง ดาวเรือง แมงลัก โหระพา หม้อข้าวหม้อแกงลิง ฯลฯ
2. เกื้อกูลกันระหว่างพืช สัตว์ ประมง
2.1 เศษเหลือของพืชจากการบริโภคของมนุษย์ใช้เป็นอาหารสัตว์และปลา
2.2 พืชยืนต้นช่วยบังลม บังแดด บังฝน ให้กับสัตว์
2.3 พืชสมุนไพรเป็นยารักษาโรคให้กับสัตว์
2.4 ปลาช่วยกินแมลงศัตรูพืช วัชพืช ให้กับพืชที่ปลูกในสภาพน้ำท่วมขัง เช่น ข้าว
2.5 ปลาช่วยให้อินทรีย์วัตถุกับพืช จากการถ่ายมูลตกตะกอนในบ่อเลี้ยงปลา ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยกับพืชได้
2.6 ห่าน เป็ด แพะ วัว ควาย ฯลฯ ช่วยกำจัดวัชพืชในสวนไม้ผล ไม้ยืนต้น
2.7 มูลสัตว์ทุกชนิดใช้เป็นปุ๋ยกับพืช
2.8 ผึ้งช่วยผสมเกสรในการติดผลของพืช
2.9 แมลงที่เป็นประโยชน์หลายชนิดได้อาศัยพืชเป็นอาหารและที่อยู่อาศัย
2.10 จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายซากพืชและสัตว์ให้กลับกลายเป็นปุ๋ย
2.11 แมลงศัตรูธรรมชาติหลายชนิด ช่วยควบคุมประชากรแมลงศัตรูพืชไม่ให้ขยายพันธุ์มากจนเกิดการแพร่ระบาด ต่อพืชที่ปลูก
เกษตรผสมผสานที่มีปฏิสัมพันธ์เชิงแข่งขันทำลาย
1. แข่งขันทำลายระหว่างพืชกับพืช
1.1 พืชแย่งอาหาร น้ำและแสงแดด กับพืชอื่น เช่น การปลูกยูคาลิปตัสร่วมกับพืชไร่และข้าว ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ยูคาลิปตัสแย่งน้ำธาตุอาหารจากต้นปอและข้าว เป็นต้น มีผลทำให้พืชเหล่านั้นได้ผลผลิตลดลง
1.2 พืชเป็นอาหารและที่อยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องของศัตรูพืชและพืชในนิเวศน์เดียวกัน เช่น ข้าวโพดเป็นพืชอาศัยของ หนอนเจาะสมออเมริกันและเพลี้ยอ่อนของฝ้าย
2. แข่งขันทำลายระหว่างพืช สัตว์ ประมง
2.1 การเลี้ยงสัตว์จำนวนมากเกินไป จะให้ปริมาณพืชทั้งในสภาพที่ปลูกไว้และในสภาพธรรมชาติไม่เพียงพอ เกิดความไม่สมดุลย์ ซึ่งจะมีผลต่อสภาพแวดล้อมเสื่อมลงได้
2.2 มูลสัตว์จากการเลี้ยงสัตว์มีจำนวนมากเกินไป เช่น การเลี้ยงหมูมากเกินไปมีการจัดการไม่ดีพอ จะเกิดมลพิษต่อ ทรัพยากรธรรมชาติรอบด้านทั้งในเรื่องของน้ำเสีย อากาศเป็นพิษหรือการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในหลายท้องที่ก็ประสบ ปัญหาเกิดภาวะน้ำเน่าเสีย เป็นต้น
2.3 การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะเกิดพิษตกค้างในน้ำ และผลิตผลที่เป็นพิษต่อสัตว์และปลา
2.4 การปลูกพืชเพื่อให้ผลผลิตอย่างใดอย่างหนึ่งสูงสุด กำไรสูงสุด โดยมีการใช้ปัจจัยการผลิตหลายด้านรวมทั้ง สารเคมีต่าง ๆ จะมีผลทำให้สภาพแวดล้อมของสัตว์ที่เป็นประโยชน์ เช่น แมลงศัตรูธรรมชาติลดจำนวนลง เปิด โอกาสให้ศัตรูพืชเพิ่มปริมาณขึ้นและจะทำความเสียหายให้แก่พืชปลูก
 -------------------------------------
            การดำเนินงานวิจัยและพัฒนาระบบการเกษตรผสมผสานมีหลายหน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ได้พัฒนางานวิจัยและส่งเสริมให้เกษตรกรดำเนินการ หน่วยงานดังกล่าวได้แก่ กรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 เป็นผู้ดำเนินการในส่วนภูมิภาค กรมส่งเสริมการเกษตร โดยมีสำนัก งานเกษตรจังหวัดทุกจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการสำหรับนโยบายของรัฐบาลในขณะนี้ยังได้เล็งเห็นความสำคัญของระบบ การผสมผสานว่า เป็นระบบที่สามารถจะแก้ปัญหาการว่างงานของประชากรและลดความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ ทางการเกษตรของเกษตรกรได้ จึงมีนโยบายการพัฒนาการเกษตรตามระบบแผนการผลิตของเกษตรกรโดยเริ่มโครง การตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา และได้ยึดหลักการที่สำคัญ 3 ประการคือ
ประการที่ 1 จะเน้นการพัฒนาที่ตัวเกษตรกรให้เป็นผู้ริเริ่มคิดเอง ทำเองจนในที่สุดสามารถพัฒนาไปในทิศทางที่ ี่พึ่งตนเองได้ และจะเป็นผู้กำหนดแผนการผลิตของตนเอง
ประการที่ 2 แผนการผลิตของเกษตรกรจะปรับเปลี่ยนจากการผลิตพืชเดี่ยว เช่น ข้าว หรือพืชไร่ชนิดใดชนิดหนึ่ง มาทำการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งรวมถึงการผลิตไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับ การเลี้ยงสัตว์และการประมง โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาดภายในประเทศและความสอดคล้องกับทรัพยากรของพื้นที่นั้นเป็นหลัก
ประการที่ 3 สำหรับบทบาทของเจ้าหน้าที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเน้นให้ความรู้และทางเลือกในการ และทางเลือกในการประกอบอาชีพ เพื่อให้เกษตรกรตัดสินใจ ปรึกษาหารือคิดร่วมกับเกษตรกรและให้การสนับสนุน ตามที่จำเป็น
            การดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังกล่าว มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการในปี 2535-2537 รวมพื้นที่ 42 จังหวัด และเพิ่มครบทุกจังหวัดในปี 2539 ผลของการดำเนินงานปรากฎว่ามีเกษตรกร จำนวนหนึ่งประสบผลสำเร็จ และมีเกษตรกรอีกจำนวนหนึ่งไม่ประสบความสำเร็จ ในด้านระบบเกษตรผสมผสาน ทั้งนี้เพราะระบบเกษตรผสมผสานเป็นระบบที่ต้องมีการวางแผน มีการจัดการทรัพยากรการผลิตในระดับไร่นาและ การจัดการในด้านเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ทุน แรงงาน และการตลาด ซึ่งปัจจัยและความสำเร็จ ของระบบเกษตรผสมผสาน โดยการสรุปผลจากผลการดำเนินงานของเกษตรกรในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศสามารถสรุป ได้ดังนี้
1. ด้านการวางแผนการผลิต
            เกษตรกรต้องสามารถวางแผนการผลิต ภายในฟาร์มของตัวเองได้อย่างถูกต้องในทำนองที่เรียกว่าต้องมีภาย ในฟาร์มของตัวเองได้อย่างถูกต้องในทำนองที่เรียกว่าต้องมีความรู้ ู้เขารู้เราจึงจะสามารถทำใหัมีการวางแผนได้อย่าง ถูกต้อง โดยองค์ประกอบความรู้เขาและรู้เราที่สำคัญในการวางแผน ได้แก่
1.1 ต้องมีพื้นที่ถือครองของตนเอง การเช่าที่ดินจากผู้อื่นมาดำเนินการ เกษตรกรจะได้กล้าที่จะวางแผนลงทุนอย่าง ถาวร เพราะเกรงว่าเมื่อดำเนินการไประยะหนึ่งแล้วอาจจะถูกบอกเลิกเช่าได้
1.2 ต้องทราบข้อมูลพื้นฐานภายในฟาร์มของตัวเองเป็นอย่างดี ข้อมูลดังกล่าว ได้แก่ ข้อมูลทางด้านลักษณะพื้นที่ ดิน แหล่งน้ำ ซึ่งนับว่ามีความสำคัญ จะสามารถช่วยในการวางแผนภายในฟาร์มได้อย่างถูกต้อง
1.3 ต้องมีความรู้และประสบการณ์ในด้านเทคโนโลยีการผลิตพืชหลายชนิด เช่น ข้าว พืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก การเพาะเห็ดเศรษฐกิจ การปศุสัตว์ และการประมง ถ้าขาดความรู้ในกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง จำเป็นต้องไปขวนขวาย หาความรู้ โดยการไปศึกษาดูงาน รวมทั้งเข้ารับการฝึกอบรมจากหน่วยงานที่สามารถให้ความรู้นั้นได้
1.4 ต้องมีทุนเริ่มต้นและทุนหมุนเวียนภายในฟาร์มพอสมควร ซึ่งการมีทุนสำรองไว้จะสามารถให้การวางแผนดำเนิน กิจกรรมที่ผสมผสานกันเป็นไปอย่างเหมาะสม
1.5 ต้องเป็นผู้มีความมานะอดทน ขยันขันแข็ง และมีแรงงานที่พอเพียง เหมาะสมกับกิจกรรมภายในฟาร์ม ทั้งนี้เพราะ การทำการเกษตรจะเห็นผลสำเร็จได้ต้องใช้เวลาและประสบการณ์ในการแก้ปัญหา ซึ่งจะมีอยู่ตลอดเวลา และสามารถ ปรับเปลี่ยนแผนได้ตลอดเวลา เพื่อให้แก้ปัญหาได้ทันเหตุการณ์
2. ด้านการจัดการ
เกษตรกรผู้ที่ดำเนินการระบบเกษตรผสมผสานจะประสบความสำเร็จได้ ควรจะต้องมีการจัดการที่เหมาะสมในด้านต่าง ๆ ดังนี้
2.1 เป็นผู้มีความสามารถจัดการวางแผนการใช้แหล่งน้ำที่มีอยู่ในการผลิตพืชชนิดต่าง ๆ การเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจ การปศุสัตว์ และการประมง ได้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ดิน ทุน แรงงาน รวมทั้งการตลาด ซึ่งจะทำให้ ้เกษตรกรมีรายได้อย่างเพียงพอ อันประกอบด้วยรายได้ประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน และรายได้ประจำฤดูกาล ในการนี้เกษตรกรควรจะมีการจัดการทำบัญชีฟาร์ม เพื่อแสดงรายรับ-รายจ่ายภายในฟาร์ม
2.2 เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ จัดการเทคโนโลยีสำหรับการผลิตพืชชนิดต่าง ๆ การเพาะเลี้ยงเห็ดเศรษฐกิจ การ ปศุสัตว์ และการประมงได้เหมาะสม มีการหมุนเวียนนำสิ่งเหลือใช้ภายในฟาร์มมาใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดการสนับ สนุนเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยจะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง ลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยจากสารพิษ ซึ่งจะนำไปสู่ระบบการเกษตรที่ยั่งยืน
--------------------------------------
 ประโยชน์ที่ได้รับของระบบเกษตรผสมผสาน
            ระบบเกษตรผสมผสานเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบเกษตรกรรมที่มีกิจกรรมตั้งแต่ 2 กิจกรรมขึ้นไปในพื้นที่ ่เดียวกัน และกิจกรรมเหล่านี้จะมีการเกื้อกูลประโยชน์ซึ่งกันและกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้น จึงเป็นระบบที่นำไปสู่ การเกษตร แบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) จึงก่อให้เกิดผลดีและประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ลดความเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพลม ฟ้า อากาศ จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความแปรปรวนในแต่ละปี ซึ่งมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น เช่น เกิดภาวะฝนแล้ง ฝนทิ้งช่วง น้ำท่วมฉับพลัน เป็นต้น จึงเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเกษตรกรที่มีกิจกรรมการเกษตรเพียง อย่างเดียว เช่น ข้าว หรือพืชไร่ ดังนั้น หน่วยงานวิจัยและพัฒนาของกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งเกษตรกรบางส่วนจึงได้ ้พยายามศึกษาและพัฒนาการแปรเปลี่ยนพื้นที่นาหรือไร่นาบางส่วนมาดำเนินการระบบเกษตรผสมผสานที่มีหลาย ๆ ปลูกพืชสวน (ไม้ผล พืชผัก) การเลี้ยงสัตว์ หรือการเลี้ยงปลาทดแทนรายได้จากการปลูกข้าวหรือพืชไร่ที่อาจเสียหาย จากสภาวะฝนแล้งหรือน้ำท่วม
2. ลดความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาผลผลิต ในการดำเนินระบบการเกษตรที่มีเพียงกิจกรรมเดียว ที่มี ีการผลิตเป็นจำนวนมาก ผลผลิตที่ได้เมื่อออกสู่ตลาดพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นข้าว พืชไร่ ไม้ผล หรือพืชผัก เมื่อมีปริมาณ เกินความต้องการของตลาดย่อมทำให้ราคาของผลผลิตต่ำลง การแปรเปลี่ยนพื้นที่นาหรือไร่บางส่วนมาดำเนินการ ระบบเกษตรผสมผสานจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากความผันแปรของราคาผลผลิตในตลาดลงได้ เนื่องจากเกษตร กรสามารถจะเลือกชนิดพืชปลูกและเลือกกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างการแก้ ้ปัญหาดังกล่าว ได้แก่ ผลการวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรผสมผสานของ ไพรัช ด้วยพิบูลย์ (2531) พบว่าการแปร การแปรเปลี่ยนพื้นที่นา 1 ใน 4 ของพื้นที่นาทั้งหมดเป็นร่องสวนปลูกไม้ผลร่วมกับพืชแซมของเกษตรกรตำบลบ้าน แหลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี สามารถลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตข้าวที่ไม่แน่นอนและช่วยให้เกษตร กรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 58 เช่นเดียวกับรายงานของ โกวิทย์ นวลวัฒน์ และคณะ (2533) ที่พบว่าเกษตรกรที่ดำเนิน การระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่จังหวัดลพบุรี สมุทรปราการ สกลนคร และจังหวัดชุมพร จะมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,281, 217, 75 และ 334 ตามลำดับ
3. ลดความเสี่ยงจากการระบาดของศัตรูพืช ในการดำเนินกิจกรรมการปลูกข้าว หรือพืชไร่เพียงอย่างเดียว เกษตรกรจะมีความเสี่ยงอย่างมากเมื่อเกิดการระบาดของศัตรูพืชขึ้น เช่น กรณีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคใบหงิกอย่างรุนแรงในปี 2532-2533 ทำให้พื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตภาคกลางได้รับความ เสียหายอย่างมาก เกษตรกรต้องประสบความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ โดยไม่มีรายได้จากกิจกรรมอื่นมาเจือจุนครอบครัวได้ ดังนั้น การแก้ปัญหาหลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจึงได้มีการวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรผสมผสานที่เหมาะสมกับ สภาพพื้นที่นา ที่มีการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคใบหงิกและจากผลการดำเนินงานวิจัยของ ประสงค์ วงศ์ชนะภัย และคณะ (2540 ก.) ในพื้นที่ตำบลสิงโตทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่าระบบเกษตร ผสมผสานที่เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคมของเกษตรกร มีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ
รูปแบบที่ 1 ข้าว + ไม้ผลบนร่องสวน + บ่อปลา
รูปแบบที่ 2 ข้าว + ไม้ผลบนร่องสวน + ไม้ดอกไม้ประดับ
รูปแบบที่ 3 ข้าว + บ่อปลา + ไม้ผลรอบบ่อปลา + ไก่บนบ่อปลา
โดยทั้ง 3 รูปแบบช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 115, 156 และ 299 ตามลำดับ เช่นเดียวกับรายงานของ Calora (1974, Hoppe (1976), IRRI (1983) ที่ว่า การจัดระบบการปลูกพืชและระบบเกษตรผสมผสานเพื่อ ลดกิจกรรมการปลูกข้าว ซึ่งเป็นพืชอาหารของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จะช่วยยับยั้งชีพจักร (life cycle) ขอเพลี้ย กระโดดสีน้ำตาลได้
4. ช่วยเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ตลอดปี การดำเนินระบบเกษตรผสมผสานซึ่งมีกิจกรรมหลายกิจกรรม ในพื้นที่เดียวกัน จะก่อประโยชน์ในด้านทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะเป็นรายได้ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายได้ประจำฤดูกาล จากการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาของสำนักวิจัยและพัฒนาการ เกษตรเขตที่ 6 ที่บ้านโคกกราด (หมู่ 8) ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว เกษตรกรที่เคยมีรายได้จาก การปลูกข้าวเพียงอย่างเดียวเมื่อแปรเปลี่ยนพื้นที่นาบางส่วนเป็นระบบเกษตรผสมผสาน จะมีรายได้ประจำวันจากการ ขายพืชผัก รายได้ประจำสัปดาห์จาการเพาะเห็ดฟางในช่วงฤดูแล้ง (ม.ค.-เม.ย.) รายได้ประจำเดือนจากไม้ผลอายุสั้น ได้แก่ กล้วย ฝรั่ง ละมุด และรายได้ประจำฤดูกาลจากข้าว ข้าวโพดหวาน ถั่วลิสง ถั่วเขียว ที่ปลูกหลังนา ตัวอย่างการ ดำเนินกิจกรรมระบบเกษตรผสมผสานของนายจวน หอมมิ่ง เกษตรกรบ้านโคกกราด ที่ได้ร่วมดำเนินการระบบเกษตร ผสมผสาน ตั้งแต่ปี 2537 พบว่าในปี 2540 จะมีรายได้ประจำวันจากการขายพืชผัก (ถั่ว แตงกวา ผักบุ้ง คะน้า ผักชี ต้นหอม ผักกะเฉด) เฉลี่ยวันละ 30.42 บาท รายได้ประจำสัปดาห์จากการขายเห็ดฟาง 47.5 บาท/สัปดาห์ รายได้ ้ประจำเดือนจากฝรั่ง กล้วย ละมุด มะละกอ 896.25 บาท รายได้ประจำฤดูกาลจากการขายข้าว 7,399 บาท ข้าวโพด หวาน 1,545 บาท ถั่วลิสง 1,009 บาท
5. ช่วยก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวพันธุ์ (Species Diversity) การดำเนินระบบเกษตรผสมผสาน ซึ่งจะมีกิจกรรมหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน พบว่าทำให้เกิดความหลากหลายทาง ชีวพันธุ์ (Species Diversity) เกิดขึ้นในพื้นที่ จากการศึกษาระบบเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริทฤษฎี ใหม่ ที่บ้านโคกกราด ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ของประสงค์ วงศ์ชนะภัย และคณะ (2540 ข.) พบว่ามีความหลากหลายทางชีวพันธุ์เพิ่มขึ้นจาก 12 ชนิด เป็น 25 ชนิดซึ่งจะช่วยทำให้ระบบนิเวศน์วิทยาในพื้นที่ดีขึ้น 
6. ช่วยกระจายการใช้แรงงาน ทำให้มีงานทำตลอดปี เป็นการลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกภาคการ เกษตร และในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศขณะนี้ ทำให้เกิดปัญหาคนว่างงานจำนวนมาก ระบบเกษตรผสม ผสานจะรองรับแรงงานเหล่านี้ได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากระบบเกษตรผสมผสาน มีกิจกรรมหลายกิจกรรมแต่ละกิจกรรมมีการ ใช้แรงงานแตกต่างกันไป เมื่อรวมกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ด้วยกันในระบบเกษตรผสมผสานจึงมีการใช้แรงงานมากขึ้น มีการกระจายแรงงานไปตามกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดปี เมื่อเปรียบเทียบกับระบบเกษตรที่มีกิจกรรมเดียว เช่น ข้าวหรือพืช ไร่ ผาสุก ทองพูล และคณะ (2540) ได้สรุปผลการวิจัยและพัฒนาระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่สภาพไร่อาศัยน้ำฝน ตำบลหนองหว้า อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว พบว่าระบบเกษตรผสมผสานจะมีการใช้แรงงานตลอดทั้งปี 265 วันงาน เมื่อเทียบกับการปลูกข้าวโพดเหลื่อมด้วยถั่วเหลือง ซึ่งพบว่ามีการใช้แรงงานเพียง 19 วันงานเท่านั้นในทำนอง เดียวกัน ประสงค์ วงศ์ชนะภัย และคณะ (2540 ข.) พบว่าเกษตรกรบ้านโคกกราด ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา  จังหวัดสระแก้ว ที่ดำเนินระบบเกษตรผสมผสาน จะมีการใช้แรงงานตลอดทั้งปี (ม.ค.-ธ.ค.) 267 วันงานเมื่อเทียบกับ การปลูกข้าวในพื้นที่ 5 ไร่ เท่ากัน จะมีการใช้แรงงานเพียง 61 วันงาน และสามารถลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงาน ออกจากพื้นที่ได้ถึงร้อยละ 87
7. ช่วยก่อให้เกิดการหมุนเวียน (Recycling) ของกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับไร่นา เป็นการช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรในระดับไร่นา ไม่ให้เสื่อมสลายหรือถูกใช้ให้หมดไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เนื่องจากระบบ เกษตรผสมผสานจะมีการเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันสอดคล้องกับรายงานของ Manwan (1995), Yuan และคณะ (1995) พัฒน์ วิบูลย์เจริญผล (2539) และชนวน รัตนวราหะ (2540) จากตัวอย่างกรณีศึกษาระบบเกษตรผสมผสาน ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่นาเขตชลประทาน ตำบลสิงโตทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา ของประสงค์ วงศ์ชนะภัย และคณะ (2540 ก.) โดยการแปรเปลี่ยนพื้นที่นาบางส่วนประมาณ 2 ไร่ เป็นบ่อปลา ปลูกไม้ผลรอบบ่อปลา และเลี้ยงไก่เนื้อบนบ่อปลา (ฺหมายเหตุ ไก่เนื้อหรือไก่กระทงจะเลี้ยงประมาณ 3,000 ตัวต่อรุ่น และใน 1 ปี จะเลี้ยงประ มาณ 4 รุ่น) จากการศึกษาพบว่านอกจากจะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 299 แล้วพบว่ามูลและอาหารของไก่ ่ที่ตกลงไปในบ่อปลา จะช่วยเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืชอาหารของปลา ทำให้ปลามีอาหารอุดมสมบูรณ์ แต่เมื่อมีมากเกินไป จะแย่งอากาศในน้ำกับปลา (น้ำจะมีสีเขียวเข้ม) ทำให้ปลาขาดอากาศ จึงจำเป็นต้องมีการระบายน้ำออกจากบ่อปลาโดย ปล่อยลงนาข้าว จากผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2537-2539 พบว่าเกษตรกรสามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยในนาข้าวจาก เดิมเคยใช้อัตรา 50 กก./ไร่ เหลือเพียง 21.4 กก./ไร่ หรือพื้นที่ 7 ไร่ ใช้ปุ๋ย 3 กระสอบ จากผลการสุ่มตัวอย่างผลผลิต พบว่า แปลงของเกษตรกรที่มีการใส่ปุ๋ยอัตรา 50 กก./ไร่ จะได้ผลผลิต 764 กก./ไร่ แต่แปลงที่ใ่ส่น้ำจากบ่อเลี้ยงปลา ร่วมกับการใช้ปุ๋ย 21.4 กก./ไร่ จะได้ผลผลิต 759 กก./ไร่ ซึ่งแตกต่างกันไม่มากนัก ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุน การผลิตข้าวลงได้ ในทำนองเดียวกัน ประสงค์ วงศ์ชนะภัย และคณะ (2540 ข.) รายงานไว้ว่าระบบเกษตรผสมผสาน ตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ที่บ้านโคกกราด ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้วช่วยทำให้เกิดการ หมุนเวียนของกิจกรรมต่าง ๆ ในแปลงของเกษตรกร จาก 0 เป็น 4 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมพืชกับพืช โดยเศษซาก ถั่วลิสง ถั่วเขียว ที่ปลูกหลังข้าว และถั่วพร้าที่ปลูกแซมระหว่างแถวของไม้ผล จะเป็นปุ๋ยให้กับข้าวและไม้ผล กิจกรรม พืชกับไก่ เศษซากพืชและข้าวเปลือกจะเป็นอาหารของไก่ มูลไก่จะเป็นปุ๋ยของพืช กิจกรรมพืชกับปลา เศษซากพืช จะเป็นอาหารของปลา น้ำจากบ่อปลาใช้ในการปลูกพืชผัก พืชไร่และไม้ผล กิจกรรมสัตว์กับปลา มูลไก่จะช่วยเพิ่ม ธาตุอาหารให้กับพืช อาหารของปลาในบ่อ เป็นต้น นอกจากนี้ในการดำเนินกิจกรรมระบบเกษตรผสมผสานยังช่วย อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลาย ดังตัวอย่างที่เดิมเกษตรกรจะปลูกข้าวในช่วงฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งจะหาของ ป่าและเผาถ่านขาย เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว แต่ภายหลังจากการดำเนินการระบบเกษตรผสมผสาน เกษตรกร สามารถมีรายได้จากการขายผลผลิต ข้าว พืชไร่ ไม้ผล พืชผัก ไข่ไก่ ปลา จึงสามารถเลิกหาของป่าและเผาถ่านขายอัน เป็นการลดปัญหาการทำลายป่าในระดับหนึ่ง พูลสวัสดิ์ อาจละกะ และคณะ (2536) และประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ (2536) รายงานว่า ระบบเกษตรผสมผสานที่มีการปลูกพืชที่มีความหลากหลายผสมผสานกันและมีการเกื้อกูลซึ่งกันและ กันในลักษณะของการปลูกต่างระดับ (Multistorey) โดยเลียนแบบลักษณะป่าธรรมชาติ จะทำให้ความสมดุลย์ของ ระบบนิเวศน์วิทยาเป็นไปอย่างเหมาะสม เช่น การหมุนเวียนของธาตุอาหารในระบบการควบคุมโรคและแมลงเป็นไป ตามธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมี เพิ่มความยั่งยืนในการให้ผลผลิต เป็นต้น
8. ช่วยให้เกษตรกรมีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคภายในครัวเรือน ในการดำเนินระบบเกษตรผสมผสานที่มีหลายกิจกรรมช่วยทำให้เกษตรกรสามารถมีอาหารไว้บริโภคในครอบครัวครบ ทุกหมู่ โดยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจะได้จากข้าว ข้าวโพด อาหารประเภทโปรตีน จะได้จากไก่ ปลา พืชตระกูลถั่ว อาหารประเภทวิตามิน เส้นใยจากพืชผักผลไม้และเห็ดฟาง ช่วยทำให้เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่ายค่าอาหารและมีการ ปรับปรุงคุณภาพโภชนาการและสุขภาพของเกษตรกรในท้องถิ่นให้ดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ ชนวน  รัตนวราหะ (2540)นอกจากนี้ กนก ผลารักษ์ และสุจินต์ สิมารักษ์ (2533) ได้รายงานไว้ว่าระบบเกษตรผสมผสานที่มี ีการเลี้ยงปลาหรือทำประมงหลังบ้าน ช่วยทำให้เกษตรกรตำบลบ้านค้อ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีอาหารโปรตีน จากปลาไว้บริโภคในครัวเรือน ประมาณ 39-46 กก./ครัวเรือน/ปี โดยทยอยจับกินได้ตลอดปี
9. ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น การดำเนินกิจกรรมในระบบเกษตรผสมผสานช่วยทำให้มีการ กระจายการใช้แรงงานทำให้มีงานทำตลอดทั้งปี และมีการกระจายรายได้จากกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการลดปัญหาการ เคลื่อนย้ายแรงงานออกจากภาคการเกษตรไปสู่ภาคอื่น ๆ เช่น ภาคอุตสาหกรรม ภาคการขายบริการต่าง ๆ ซึ่งมักก่อให้ เกิดปัญหาตามมา เช่น ปัญหาอาชญากร ในเมืองและต่างประเทศ ปัญหาโรคไหลตายที่ประเทศสิงคโปร์ ปัญหายาเสพย์ ติด ปัญหาโรคเอดส์ เป็นต้น เมื่อไม่มีการอพยพแรงงานออกจากท้องถิ่น ทำให้ครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้าทั้งพ่อ แม่ ลูก ช่วยทำให้สภาพจิตใจดีขึ้น สภาพทางสังคมในท้องถิ่นดีขึ้น ช่วยทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้น อาภาภรณ์ แสงพรรค (2537) ได้ทำการศึกษาผลการดำเนินงานทางด้านระบบเกษตรผสมผสานโดยทำการสำรวจครัวเรือนเกษตร กร จำนวน 35 ครัวเรือน ในพื้นที่อำเภอปทุมรัตน์ จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่าคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรที่ทะระบบ เกษตรผสมผสานดีกว่าครัวเรือนที่ไม่ได้ทำ กล่าวคือ มีการเจ็บป่วยรุนแรง และเสียค่ารักษาพยาบาลน้อยกว่า นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานระบบเกษตรผสมผสานที่บ้านโคกกราด ตำบลทัพราช อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว ของประสงค์ วงศ์ชนะภัย และคณะ (2539) สามารถช่วยทำให้เกษตรกรที่ชื่อ นายแกะ เจียวรัมย์ สมาชิกคนหนึ่งของโครงการฯ ได้เปลี่ยนแปลงจากชายขี้เหล้าเมายาประจำหมู่บ้าน มาเป็นครอบครัวที่มีรายได้ประจำวันมากที่สุดในหมู่บ้านจากการ ขายผักที่ปลูกแซมในร่องสวน โดยมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 50 บาท/วัน และสามารถยกบ้านหลังใหม่แทนกระต๊อบ หลังเก่า คุณภาพชีวิตดีขึ้น เช่นเดียวกับเกษตรกรรายอื่น ๆ ที่ร่วมดำเนินงาน
----------------------------------------------
การดำเนินการระบบเกษตรผสมผสานจะเป็นระบบการเกษตรที่ให้ผลผลิตกับเกษตรกรทั้งในด้านการมีอาหารเพียงพอ แก่การบริโภค การเพิ่มการมีงานทำ การมีรายได้อย่างต่อเนื่อง ลดความเสี่ยงจากการดำเนินกิจกรรมกระแสหลัก ลดการ เคลื่อนย้ายแรงงาน สามารถใช้ทรัพยากรภายในฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถปรับปรุงสภาพแวดล้อมไม่ให้ เสื่อมโทรม รักษาสมดุลย์ของธรรมชาติไว้ แต่อย่างไรก็ดีระบบการทำฟาร์มผสมผสานในแต่ละสภาพของท้องถิ่นจะมี ความแตกต่างกันในด้านกิจกรรมที่จะมาดำเนินการ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับการวางแผนการจัดการที่จะให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับสภาพ เงื่อนไขทางด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม ของเกษตรกรแต่ละรายซึ่งจะมีความ แตกต่างกัน
การดำเนินการระบบเกษตรผสมผสานจะมีข้อได้เปรียบและข้อจำกัด ดังต่อไปนี้
1. ข้อได้เปรียบของการทำระบบเกษตรผสมผสาน คือ
1.1 ลดความเสี่ยงเนื่องจากความแปรปรวนของสภาพลมฟ้าอากาศ ราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอนและการระบาดของศัตรู พืช
1.2 ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรภายในฟาร์ม ได้แก่ ที่ดิน แรงงานและเงินทุน
1.3 มีอาหารเพียงพอแก่การบริโภคภายในครัวเรือน และมีรายได้อย่างต่อเนืองตลอดปี
1.4 การใช้แรงงานสม่ำเสมอตลอดปี จึงทำให้ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคการเกษตรไปสู่ภาคอื่น ๆ
1.5 เกษตรกรจะมีเศรษฐกิจที่พอเพียง จึงเป็นผลให้มีสภาพความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
1.6 เป็นระบบการเกษตรที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย
2. ข้อจำกัดของการทำระบบเกษตรผสมผสาน คือ
2.1 เกษตรกรจะต้องมีที่ดิน ทุน แรงงาน ที่เหมาะสม
2.2 เกษตรกรจะต้องมีความมานะ อดทน และขยันขันแข็ง
2.3 ต้องมีการวางแผนและการจัดการทรัพยากรภายในฟาร์มตลอดจนเทคโนโลยีในการผลิตที่เหมาะสมสอดคล้อง สอดคล้องกับระบบการตลาดในท้องถิ่นและในระดับภูมิภาค